วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Network OS


Network OS

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ 

1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัทNovell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS

2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งในUnix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้

4.Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกัน หลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ Netware ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Novell ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในปี ค.ศ 1983 เป็นระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายท้องถิ่น โดยใช้ศูนย์กลางบริการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานรุ่นแรก และในปัจจุบันพัมนาจนมีความก้าวหน้าไปมาก Netware มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ดดยมีผู้ใช้มากว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามขนาดได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายโดย การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์เดียวกันหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่าย หรือเรียกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายอินทราเน็ต (Ethernet) เช่น ระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เป็นต้น

2. Metro Area Network (MAN) เป็นเครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจจะมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้

3. Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายระบบแลนหลาย ๆ เครือข่ายจากที่ห่างไกล มากๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งระบบเครือข่ายแวน (WAN) เป็นระบบพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง



องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย

1. เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป

2. การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่ง ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) ได้แก่ สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ สื่อกลางในการส่งข้อมูล จะอธิบายอย่างละเอียดในหน่วยที่ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่าย

สาย UTP Cat 5

4. ระบบปฏิบัติการที่รองรับระบบเครือข่าย แบ่งออกได้ 2 ประเภท

4.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้แก่ Netware, Window NT/ Windows 2000 Server, Linux และ Unix เป็นต้น

4.2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ลูกข่าย (Client or Workstation)ได้แก่ MS Dos, Window 95, Window 98/Me, Window 2000, Linux เป็นต้น

5. ฮับ (Hub), สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น